การทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองตัวอย่างที่น่าใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน

 

          เมืองที่น่าใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน คือเมืองที่มีระบบสัญจร(ทางจักรยาน ช่องเดินรถจักรยาน หรือถนนจักรยาน) สำหรับให้คนที่เคยใช้รถยนต์ จักรยานยนต์ หรือแม้แต่รถสาธารณะที่ยังไม่ค่อยสะดวกนักในระยะทาง ๕ - ๑๐ กม. จากที่พัก ไปยังที่หมายในชีวิตประจำวัน ได้แก่ไปทำงาน ไปเรียน ไปติดต่อธุระหรือไปสถานที่ราชการ ไปตลาดหรือศูนย์การค้า ไปเยี่ยมมิตรสหาย ไปโรงพยาบาล หันมาใช้จักรยานเป็นพาหนะเดินทางแทนด้วยความรู้สึกว่าสะดวกกว่าเดิม เพราะรถไม่ติด หาที่จอดรถง่ายและยังมีความรู้สึกมั่นใจว่าปลอดภัยด้วย เพราะมีระบบจราจร(ป้ายเครื่องหมายจราจรต่างๆ สำหรับการใช้ระบบสัญจรที่อำนวยความสะดวกได้อย่างปลอดภัย)  ทั้งระบบสัญจรและระบบจราจรมีความเหมาะสม ถูกต้องตามกฎหมายไทยและมีความเป็นสากล ที่ทำให้นักท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและคนต่างประเทศเข้าใจระบบสัญจรและระบบจราจรที่เรามีอยู่ได้จากเครื่องหมายจราจรที่ใช้แม้ไม่รู้ภาษาไทย และมั่นใจว่าตำรวจจราจรของเราจะดูแลกฎจราจรที่ใช้กับระบบสัญจรและระบบจราจรสำหรับการใช้จักรยานในตัวเมืองของเราได้ด้วยความมั่นใจด้วยเช่นกัน เช่นบังคับใช้การห้ามจอดรถต่างๆในช่องเดินรถจักรยาน ซึ่งเป็นทางจักรยานที่เรารู้จักกันมากที่สุด และบังคับใช้กฎหมายในการห้ามรถอื่นๆวิ่งในทางจักรยานด้วย

          ในปัจจุบันเราคงเห็นการจอดรถต่างๆในช่องเดินรถจักรยานในคูเวียงโดยเฉพาะในถนนราชวิถี จากแยกสมเพชรผ่านสี่แยกกาดบุญอยู่(แยกหลัง รร.ยุพราช) และแยกอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ไปจนถึงหลังที่ว่าการอำเภอเมืองหรือหน้าเรือนจำเก่า ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศและคนไทยที่ใช้จักรยานและรุู้เรื่องระบบสัญจรและระบบจราจรสำหรับจักรยาน ไม่เชื่อว่าผู้ใช้จักรยานจะได้รับการดูแลจากผู้ใช้รถอื่นๆในถนนดังกล่าวและเมื่อเกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งระหว่างผุ้ใช้รถจักรยานกับผู้ใช้รถอื่นๆแล้ว จะได้รับการดูแลที่ถูกต้องจากตำรวจจราจร หรือจากฝ่ายบริหารบ้านเมืองที่ต้องรับผิดชอบให้บ้านเมืองอยู่ในนิติรัฐที่ดีที่ถูกต้อง 

          ระบบสัญจรและระบบจราจรที่ไม่สอดคล้องกับกฎจราจรสำหรับดูแลผู้ใช้จักรยานอย่างถูกต้องในคูเวียงที่ฝ่ายบริหารบ้านเมืองต้องการให้คูเวียงเป็นพื้นที่ตัวอย่างนั้นได้มีการใช้มาแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ แต่ยังไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขใดๆตามข้อเสนอแนะต่างๆ ที่แสดงลิงค์ไว้ให้เข้าไปดูได้แต่อย่างใด

 

          ๑. http://www.cmcycling.org/index.php/mainmenu-90/587-2015-10-22-05-05-07

 

          ๒. http://www.cmcycling.org/index.php/mainmenu-90/575-cmbike8may15

 

          ระบบสัญจรและระบบจราจรสำหรับจักรยานที่ทำขึ้นนั้นมีความกำก วม เป็นระบบควบก้ำกึ่งของระบบสัญจรที่เรียกว่า "ถนนจักรยาน Fahrradstrasse หรือ Fietstraat" กับ "ทางจักรยาน ซึ่งตีเส้นเป็นช่องเดินรถจักรยาน" ซึ่งโดยหลักการของ "ถนนจักรยาน"แล้ว ถือว่าบนถนนสายนั้น จักรยานเป็นเอก รถอื่นๆเป็นรถร่วมใช้ ขับขี่ได้ไม่เกิน ๓๐ กม./ชม. เมื่อจะแซงจักรยานให้ชะลอความเร็วลงมาใกล้เคียง เพียงพอที่จะแซงได้โดยผู้ขับขี่จักรยานได้รับการดูแลความปลอดภัยเป็นพิเศษ และใน "ถนนจักรยาน" ไม่ต้องมีช่องเดินรถจักรยานใดๆ ตำรวจจราจรสามารถกำหนดให้รถยนต์จอดได้ทั้งสองฟากถนนหรือฟากเดียวแบบสลับวันก็ได้ ดังนั้นถ้าเราเห็นพ้องกันว่าควรให้รถยนต์จอดได้ เมืองเชียงใหม่ก็ควรประกาศใช้ "ถนนจักรยาน"ให้ชัดเจน แล้วรื้อเส้นที่ตีเป็นช่องเ ดินรถจักรยานออก เพียงเท่านี้รถที่จอดอยู่แบบสลับวันในถนนราชวิถีก็จอดได้ ตำรวจจราจร หรือตำรวจภูธรเชียงใหม่ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี ๒๕๕๕เป็นต้นมา ก็จะไม่เป็นผู้เสียหายจากการไม่บังคับใช้การห้ามจอดรถในทางจักรยานอย่างที่เป็นอยู่ เพียงแต่ต้องประชาสัมพันธ์-รณรงค์อย่างจริงจังให้รถอื่นๆรู้อย่างชัดเจนว่าจะต้องขับไม่เร็วเกิน ๓๐ กม./ชม. และดูแลผู้ใช้จักรยานเป็นพิเศษในเขตคูเวียง

          หากยังคิดว่าจะให้ใช้ "ระบบสัญจรที่คงช่องเดินรถจักรยานเอาไว้" ก็จำเป็นต้องห้ามรถทุกชนิดจอดในช่องเดินรถจักรยาน 

          ถ้าทำได้อย่างใดอย่างหนึ่งดังที่กล่าวไว้ข้างบนนี้ เขตคูเวียงเชียงใหม่ก็จะเป็นพื้นที่ตัวอย่างของพื้นที่อื่นๆรอบๆคูเวียง แม้แต่เป็นตัวอย่างแก่เมืองอื่นๆของประเทศไทยในการทำให้เกิดพื้นที่ตัวอย่างเพิ่มขึ้นที่น่าใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน พร้อมกันนี้ขอเชิญคลิ๊กดูลิงค์ระบบสัญจรและระบบจราจรที่ให้เฉพาะจักรยานสวนถนนจราจรทางเดียวได้ในเส้นทางจักรยานนำร่อง ๓ เส้นทางบนถนน ๕ สายเมื่อปี ๒๕๕๒ ตามที่ได้รับความเป็นชอบจากที่ประชุม อจร.ชม.เมื่อปี ๒๕๔๗ เพื่อให้มีเส้นทางจากนอกคูเวียงด้านตะวันออกสำหรับให้คนเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวปั่นจักรยานเข้าสู่คูเวียงด้วยการจูงข้ามที่แยกลอยเคราะห์ขราชมรรคากับที่แยกช้างม่อย-แยกสมเพชรเชื่อมถนนราชวิถี

 

https://photos.google.com/share/AF1QipPM75jZOoXo8niJ7I_ZbwSUG2xu23Cyv3ievAri7BfifzHz19wIPHHPKdNk1AQOXQ?key=aEFRTUV1dWliczN6N1Z3NTBmZ1c4S0Y3T2NKc3d3

 

                                                                                ดร.นิรันดร  โพธิกานนท์

                                                       ที่ปรึกษาชมรมจักรยานวันอาทิตย์เชียงใหม่

          

 

LOGO GWF logo tcc logo rabn logo SSS