สะพานนครพิงค์ บทเรียนสำหรับถนนของเมืองน่าอยู่

“สะพานนครพิงค์” บทเรียนสำหรับถนนของเมืองน่าอยู่ !             

    นิรันดร  โพธิกานนท์

           ถนนที่พร้อมไปด้วยโครงสร้างการจราจรสำหรับประชาชน..ให้ใช้สิทธิพื้นฐานของมนุษย์เพื่อการเดินทางได้อย่างครบถ้วน ได้แก่ทางเดินรถซึ่งแบ่งออกเป็นช่องเดินรถสำหรับรถยนต์กับจักรยานยนต์ให้สวนกันได้อย่างน้อย 2 ช่อง ในขอบทางก็มีทั้งทางเท้าให้คนเดินได้อย่างปลอดภัย มีช่องทางจักรยานที่คนพิการใช้ล้อเลื่อนเดินทางร่วมกับรถจักรยานสองล้อและสามล้อที่แยกต่างหากจากทางเดินรถอื่นๆ  ซึ่งถือว่าเป็นโครง สร้างพื้นฐานหนึ่งซึ่งต้องมีในเมืองน่าอยู่ทุกเมือง   เมืองเชียงใหม่ถือว่าเป็นเมืองหนึ่งที่ไม่nakonping_bridge1ว่าใคร ๆ(ทั้งรัฐบาล ผู้ว่าฯ นายกเทศมนตรี นายกอบจ.) ได้กำหนดไว้เป็นนโยบาย เพื่อมุ่งหวังไว้ว่าจะช่วยกันทำให้เป็นเมืองน่าอยู่ของประชาชนคนเชียงใหม่ทุกคน จำเป็นที่จะต้องมีโครงสร้างสำหรับการเดินทางอย่างครบถ้วนดังที่กล่าวนี้ รวมทั้งทำให้มีรถโดยสารประจำทางบริการประชาชนด้วย  ถ้าเราทำให้เมืองเชียงใหม่มีการจราจรที่น่าอยู่แก่คนเชียงใหม่ได้แล้ว เมืองเชียงใหม่ย่อมจะน่าอยู่สำหรับผู้คนทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศซึ่งมาเที่ยวด้วย  เราได้มีถนนสายใหม่ กำลังสร้าง และคิดจะสร้างถนนอีกหลายสายในเมืองเชียงใหม่ จึงขอเสนอให้ผู้ที่รับผิดชอบในการคิดและวางแผนได้พิจารณาร่วมคิดกันให้กว้างและไกลถึงความครบถ้วนในโครงสร้างเหล่านี้ 

kaonakonping1        
      “สะพานนครพิงค์ เป็นทางหรือถนนช่วงสั้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่ในสมัยที่นายวรกร ตันตรานนท์ เป็นนายกเทศมนตรีอยู่ได้ซ่อมแซมและปรับเปลี่ยนจากโครงสร้างสะพานธรรมดาให้เป็นไปดังที่เห็นในปัจจุบัน เพื่อให้สามล้อถีบและคนเดินเท้าสามารถสัญจรข้ามสะพานได้อย่างครบถ้วนและปลอดภัย ในสมัยที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างสะพานนั้น การกลับมาของจักรยานยังนับว่ามีน้อยมาก แต่ก็มีผลดีในยุคสมัยนี้  สะพานนครพิงค์จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้องของการทายปัญหาในบทความเรื่องเชียงใหม่มีถนนที่มีรูปแบบ ทางจักรยานปลอดภัยที่สุดในประเทศไทย”…ซึ่งผมเห็นว่าสามารถนำไปเป็นบทเรียนสำหรับประยุกต์ใช้กับถนนสายอื่นๆ ในเมืองเชียงใหม่ของเราที่จะปรับปรุงหรือจะสร้างขึ้นใหม่โดยไม่ต้องเดินทางไปดูงานไกลถึงต่างประเทศ  !

 

LOGO GWF logo tcc logo rabn logo SSS